เมนู

ที่ยืนและที่นั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า
ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ.
วิจิกิจฉา มีการเกิดขึ้นโดยอโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายที่เป็น
ที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา ความสงสัยนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา
เพราะเป็นเหตุให้สงสัยบ่อย ๆ เมื่อให้อโยนิโสมนสิการ ในวิจิกิจฉานั้นเป็นไป
บ่อย ๆ วิจิกิจฉาก็เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย การกระทำให้มากซึ่งอโย-
นิโสมนสิการ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้
(อาหารปัจจัย) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด บ้างเพื่อความเจริญ
ยิ่ง เพื่อความไพบูลย์แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง. ส่วนการละวิจิกิจฉามีได้
ด้วยโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
และอกุศล ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมทั้งหลายที่ควรเสพ
และไม่ควรเสพ ธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนดำส่วนขาว การทำให้มากซึ่งโยนิ-
โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการ
ไม่เกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
บ้าง.

ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา 6 ข้อ


อีกอย่างหนึ่ง ธรรม 6 ประการ ย่อมไปเพื่อการละวิจิกิจฉา คือ
1. ความเป็นพหูสูต
2. การซักถาม
3. ความรอบรู้ในพระวินัย

4. ความเป็นผู้มากไปด้วยอธิโมกข์
5. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
6. การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ.
ผู้เรียนเอานิกาย 1 บ้าง ฯลฯ 5 นิกายบ้าง ด้วยอำนาจแห่งบาลี
และด้วยอำนาจแห่งเนื้อความ (อรรถกถา) ย่อมละวิจิกิจฉาได้. ผู้สอบถามมาก
ในธรรมทั้งหลาย มีประเภทกุศลเป็นต้น ปรารภพระไตรรัตน์บ้าง ผู้รอบรู้
(ชำนาญ) เพราะความเป็นผู้ประพฤติจนชำนาญในพระวินัยบ้าง1 ผู้มากไป
ด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือ ความเชื่อที่พึงกำหนดแน่ในพระรัตนตรัยบ้าง ผู้คบ
หาสมาคมกัลยาณมิตรผู้น้อมไปในศรัทธา เช่นกับพระวักกลิเถระบ้าง ย่อมละ
วิจิกิจฉาได้. ย่อมละวิจิกิจฉาได้แม้โดยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ อาศัยคุณ
ของพระรัตนตรัย ณ ที่ยืนและที่นั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า ธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.
ก็ในอธิการนี้ บรรดานิวรณ์เหล่านี้ ที่ละได้แล้วด้วยอำนาจการข่มไว้
ด้วยธรรมเหล่านั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว กามฉันทนิวรณ์ มีการละได้เด็ดขาด
ด้วยอรหัตมรรคก่อน. ถิ่นมิทธนิวรณ์และอุทธัจจนิวรณ์ ก็อย่างนั้น (คือ มี-
การละได้เด็ดขาดด้วยอรหัตมรรค). ส่วนพยาบาทนิวรณ์และกุกกุจจนิวรณ์มี
การละได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค. วิจิกิจฉานิวรณ์มีการละได้เด็ดขาดด้วย
โสดาปัตติมรรค. เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมที่เป็นอุปการะแก่การ
ละนิวรณ์เหล่านั้น อย่างนั้น จึงได้ทรงปรารภคำมีอาทิไว้ว่า อารทฺธํ โหติ
วิริยํ
(วิริยะเป็นอันปรารภแล้ว). อีกอย่างหนึ่ง การละนิวรณ์มีอภิชฌาเป็นต้น
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็คือวิริยะที่ได้ปรารภแล้วนี้นั่นเอง. เพราะเหตุที่แต่ไหน
แต่ไรมาแล้ว ผู้ชื่อว่าเกียจคร้านแล้ว เพราะปราศจากความเพียร ชื่อว่า มี

1. แปลตามเชิงอรรถ

สติหลงลืมแล้ว เพราะไม่เข้าไปตั้งสติไว้ ชื่อว่า มีกายมีความกระวนกระวาย
เพราะว่าระงับความกระวนกระวายยังไม่ได้ ชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะว่ามี
จิตยังไม่ได้ตั้งมั่นแล้ว ไม่อาจจะยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ จะป่วยกล่าว
ไปไย ถึงจะยังธรรมนอกจากนี้ให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงถึงวิธี
ที่การไปปราศ คือ การละอภิชฌาเป็นต้นนั้น จะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติได้ จึงได้
ทรงปรารภคำมีอาทิไว้ว่า อารทฺธํ โหติ วิริยํ (วิริยะเป็นอันได้ปรารภแล้ว).
คำนั้นมีเนื้อความว่า ความเพียรเป็นอันเธอปรารภแล้ว คือประคอง
ไว้แล้ว มีอธิบายว่า เป็นไปแล้วโดยไม่ย่อหย่อน เพื่อละนิวรณ์เหล่านั้นคือ
เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาดสังกิเลสธรรมแม้ทั้งหมด. และความเพียร ชื่อว่า
เป็นอันไม่หลบหลีกแล้ว เพราะไม่ถึงความหดหู่ในระหว่าง เหตุที่ปรารภแล้ว
นั่นเอง. บทว่า อุปฏฺฐิตา สติ อปฺปมุฏฺฐา ความว่า ไม่ใช่เพียงความ
เพียรอย่างเดียวเท่านั้น (ที่ปรารภแล้ว) ถึงสติก็เป็นอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว เพราะ
ความมุ่งหน้าต่ออารมณ์ อนึ่งชื่อว่า ไม่หลงลืมแล้ว เพราะเข้าไปตั้งไว้แล้ว
นั่นเอง และเพราะความสามารถระลึกถึงเรื่องที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้.
บทว่า ปสฺสทฺโธ ความว่า แม้กายของเธอก็เป็นอันสงบระงับแล้ว เพราะ
ระงับความกระวนกระวายกายและจิตได้. เพราะเหตุที่บรรดานามกายและรูป-
กายทั้ง 2 อย่างนั้น เมื่อนามกายสงบแล้ว แม้รูปกายก็เป็นอันสงบไปด้วย
ทีเดียว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ปสฺสทฺโธ กาโย
(กายระงับ) โดยไม่ให้แปลกไปว่า นามกาโย รูปกาโย. บทว่า อสารทฺโธ
ความว่า และผู้นั้นชื่อว่า ไม่ระส่ำระสายแล้ว เพราะเป็นผู้สงบแล้วนั่นเอง.
มีอธิบายไว้ว่า เป็นผู้มีความกระวนกระวายปราศไปแล้ว. บทว่า สมาหิตํ
จิตฺตํ เอกคฺคํ
ความว่า แม้จิตของเธอ เป็นเสมือนตั้งมั่นแล้วโดยชอบ คือ
เสมือนตั้งไว้แล้ว ด้วยดี ได้แก่ เป็นเสมือนแนบแน่นแล้ว และเพราะตั้งมั่น

แล้วนั่นเอง จึงมีอารมณ์เลิศเป็นอันเดียว คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่ดิ้นรน
หมายความว่า ไม่เอนเอียง. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัสถึงปฏิปทา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งฌานและมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ถึงกำลังเดินไป เราตถาคต
ก็กล่าวว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
เป็นไปเนืองนิจติดต่อกันไป. เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น ได้กล่าวไว้ใน
หนหลังนั่นแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า ยตํ จเร ความว่า
ภิกษุพึงเดินไปเพียรไป. อธิบายว่า แม้กำลังสำเร็จการเดินด้วยสามารถจงกรม
เป็นต้น คือ เพียรสืบต่อพยายามอยู่ ด้วยสามารถแห่งความเพียร คือ
สัมมัปปธานดังที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุยังฉันทะให้เกิดขึ้นพยายามอยู่
เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ควรสำเร็จการเดินไป
เป็นต้น โดยวิธีที่จะละอกุศลธรรมทั้งหลายได้ กุศลธรรมทั้งหลาย จะถึงความ
บริบูรณ์ด้วยภาวนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้.
ส่วนอาจารย์บางเหล่ากล่าวเนื้อความของบท ยตํ นี้ว่าได้แก่ สํยโต
(สำรวมแล้ว). บทว่า ติฏฺเฐ ได้แก่ พึงเดินไป คือ พึงสำเร็จการเดิน.
บทว่า อจฺเฉ ได้แก่ พึงนั่ง. บทว่า สเย ได้แก่ พึงนอน. บทว่า ยตเมนํ
ปสารเย
ความว่า ภิกษุเพียรคือหมั่นอยู่ ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความ
เพียรตามที่กล่าวมาแล้ว พึงเหยียดออกไปซึ่งมือและเท้าเป็นต้นนั่น ที่ควร
เหยียดออกไป. อธิบายว่า พึงละทิ้งความประมาทในที่ทุกสถาน.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติ ที่ภิกษุเมื่อปฏิบัติอยู่ ชื่อ ว่า เป็น
ผู้เพียร คือ หมั่นอยู่ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า อุทฺธํ. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ เบื้องบน. บทว่า ติริยํ ได้แก่ ด้านขวาง. อธิบายว่า
ในทิศาภาครอบด้านด้วยสามารถแห่งทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า อปาจินํ
ได้แก่ ทิศเบื้องล่าง. บทว่า ยาวตา ชคตา คติ ความว่า
ความเป็นไปของสัตวโลก ที่จำแนกออกเป็นสัตว์และสังขารมีประมาณเท่าใด
ในความเป็นไปมีประมาณเท่านั้น อธิบายว่า ในที่ทุกแห่งหน. ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงโดยทรงสงเคราะห์เอาอารมณ์
ของสัมมสนญาณเข้าไว้ โดยไม่มีเหลือ. บทว่า สมเวกฺขิตา ความว่า ได้
พิจารณาแล้วโดยชอบ คือ โดยเหตุ ได้แก่ โดยนัย. มีอธิบายว่า เป็นผู้
พิจารณาเห็นแจ้ง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น. บทว่า ธมฺมานํ
ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่สูญจากสัตว์. บทว่า ขนฺธานํ ได้แก่ ขันธ์ 5 มี
รูปเป็นต้น . บทว่า อุทยพฺพยํ ได้แก่ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไป.
มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็น คือ พิจารณาเห็นเนือง ๆ
ซึ่งความเกิด โดยอาการ 25 อย่าง และความเสื่อมสิ้นไป โดยอาการ 25
อย่าง ด้วยอุทยัพพยญาณ ที่บรรลุได้ด้วยการพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นต้น
แห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งมวล กล่าวคือ อุปทานขันธ์ทั้ง 5 ที่แตกต่าง
กันโดยจำแนกออกเป็นอดีตเป็นต้น ในสัตวโลกแม้ทั้งหมดที่สงเคราะห์เป็น 3
คือ เบื้องบน ด้านขวาง เบื้องล่าง.
บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ญาณทัสสนวิสุทธิ ที่เป็นปฏิปทา
สมควรแก่อริยมรรค กล่าวคือ เจโตสมถะ เพราะสงบระงับสังกิเลสแห่งจิต
ได้สิ้นเชิง. บ่ทว่า สิกฺขมานํ ได้แก่ ปฏิบัติอยู่ คือ เจริญอยู่ หมายความ
ว่า ยังญาณที่สูง ๆ ขึ้นไปให้เกิดขึ้น. บทว่า สทา ความว่า ตลอดกาลทุก
เมื่อ คือ ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. บทว่า สตํ ความว่า ผู้ทำสติ ด้วยสติที่

ประกอบด้วยสัมปชัญญะ 4. บทว่า สตตํ ปหิตตฺโต ความว่า พระอริย-
เจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตรัสแล้ว คือ ย่อมตรัส ได้แก่
ย่อมบอกซึ่งภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาลทุกเมื่อ คือ
เป็นผู้ส่งใจไปสู่นิพพาน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสัมปันนสูตรที่ 12

13. โลกสูตร


ว่าด้วยตรัสรู้โลกพร้อมเหตุเกิดและความดับ


[293] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสรู้โลกแล้ว พรากแล้ว
จากโลก ตรัสรู้เหตุเกิดโลกแล้ว ละเหตุเกิดโลกได้แล้ว ตรัสรู้ความดับแห่ง
โลกแล้ว ทำให้แจ้งความดับโลกแล้ว ตรัสรู้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง
โลกแล้ว เจริญปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เพราะสิ่งนั้นพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ฉะนั้น
บัณฑิตจึงกล่าวว่าพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตย่อมตรัสรู้
อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้
พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแลไม่เป็นไปอย่างอื่น ฉะนั้น บัณฑิต